Recommend Print

วิถีปาติโมกข์ - วิถีแห่งสมณะที่วัดสุนันทวนาราม

2022 04 18 103341

เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2565 The Lecture ได้รับโอกาสติดตามคณะถวายงานโครงการทรงจำปาติโมกข์ไปยังวัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี ได้รับฟังครูบาอาจารย์เล่าถึงความสำ คัญของปาติโมกข์ ที่มาของโครงการ และได้สังเกตศึกษาวิถีปฏิบัติของสมณะ เวลาแม้เพียงสั้น ทว่าได้สร้างความประทับใจและอยากบอกเล่าวิถีอันงดงาม มุมที่น้อยนักที่จะมีโอกาสได้พบเห็น สู่คุณผู้อ่าน

...ที่นี่ทำ วัตรเช้าตอนตี 4 หลังทำ วัตรมีเวลาเล็กน้อย ก่อนพระภิกษุจะออกบิณฑบาต เส้นทางที่คณะเราจะตามพระไปบิณฑบาตในเช้านี้เป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ระยะทางเดินไป-กลับใช้เวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง พวกเราลองถอดรองเท้าเดินตามพระ พบว่าเดินลำบาก หินแหลมเหล่านั้นทำ ให้เราเดินได้ช้าๆ ทว่าก็ทำให้ได้เห็นบ้านเรือน สวนไร่ ของชาวบ้านถนัดตาขึ้น มีชาวบ้านมารอใส่บาตรเป็นระยะ บางท่านก็ชรามากแล้ว แต่มีสีหน้าแช่มชื่น ดูท่านปีติที่ได้ทำ

กิจกรรมเช้าเช่นนี้...พอดีที่วันนี้เป็นวันโกน เป็นวันที่จะมีกิจกรรม เช่น ย้อมผ้า โกนผม อบสมุนไพร ฯลฯ วัดในวันนี้จึงแลมีสีสัน สีสันของความสงบ ความงาม ความเรียบง่าย ความละมุนละม่อม ...ช่วงสายได้รับเมตตาจากพระมหากีรติ ธีรปัญโญ เล่าถึงความสำ คัญของปาติโมกข์ ที่มาของโครงการทรงจำปาติโมกข์ และวิถีชีวิตของนักบวชให้ฟัง The Lecture หยิบปากกามาจด ได้ความมาฝากท่านผู้อ่าน ดังนี้ :-

2022 04 18 103505

ว่าด้วยปาติโมกข์

ปาติโมกข์ มาจาก ปาตะ (แปลว่าตก) กับ โมกขะ (แปลว่าพ้น) ปาติโมกข์ คือคำ สอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นอุบายรักษาเราไม่ให้ตกสู่อบาย

ปาติโมกข์ มี 2 อย่าง

1. โอวาทปาติโมกข์ - ทุกพระพุทธเจ้ามีโอวาทปาติโมกข์เหมือนกันหมด คือ ละชั่วทำ ความดี ทำ จิตใจให้ผ่องใส

2. อาณาปาติโมกข์ - เป็นอาชญา/คำ สั่งลงมาเป็นข้อๆ เหมือนอาชญาแผ่นดิน เช่น ปาราชิก เทียบได้กับประหารชีวิตของทางโลก, สังฆาทิเสส เทียบได้กับโทษจำคุก, ปาจิตตีย์ เทียบได้กับโทษปรับ เป็นกฎของพระ เพื่อให้ทำ ความเลื่อมใสของชนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของคนที่เลื่อมใสแล้ว, ในส่วนของพระก็เพื่อข่มผู้ที่ไม่อาย และเพื่อผาสุกของผู้รักธรรมวินัย

การสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนก็เป็นการทบทวน ระลึกถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ เพื่อรักษาธรรมวินัยไว้

อาณาปาติโมกข์ เปรียบเหมือนกฎของพระ บวชเป็นพระใหม่ก็ต้องเรียนพระวินัยก่อน เหมือนให้รู้กฎหมายว่าอะไรทำ ได้ อะไรทำ ไม่ได้ หรือแม้บวชเป็นพระนานแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ปาติโมกข์ ก็เรียกว่ายังไม่พ้นนิสัยยังเดินทางเองไม่ได้ ยังต้องพึ่งครูบาอาจารย์

ปาติโมกข์ของโยม คือ ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10, ปาติโมกข์ของพระ คือ ศีล 227

• ศีล 227 โยมก็เรียนได้ สมัยก่อน การมาวัดก็คือการมาโรงเรียน เรียนว่าชีวิตจะดีขึ้นได้อย่างไร บวชเรียนเป็นพระรักษาศีล 227 ข้อ แม้สึกออกไปก็เป็นโยมที่ดีเป็นทิด เป็นบัณฑิต เช่น เรื่องปาราชิก 4 นี้ก็ตรงกับศีล 5 เพียงแต่ละเอียดกว่า เรียนแล้วก็นำความรู้นั้นไปใช้ได้เช่น ข้อปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) จะครบองค์ต้องมี 5 ข้อคือ 1. สัตว์นั้นมีชีวิต 2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 3. มีเจตนาจะทำ เขาเสียชีวิต 4. มีความพยายามจากเจตนานั้น 5. สัตว์ตายลงจากเจตนานั้น ครบ 5 องค์ก็เป็นปาณาติบาต

2022 04 18 103530

การที่โยมรู้วินัยพระสามารถช่วยพระรักษาวินัยได้เช่น ข้อรับปัจจัยเงินทอง พระพุทธเจ้าห้ามไว้ชัดเจนเงินเป็นสิ่งไม่ควรแก่สมณะ เพราะนำ ไปซื้อวัตถุกามมาเสพได้โยมรู้วินัยนี้ก็ช่วยพระรักษาวินัยได้ด้วยการถวายแต่ปัจจัยสี่ ไม่ถวายเงินทอง

• พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับเงินทอง แต่ก็ผ่อนผันให้ฝากเงินไว้กับคนวัด/ไวยาวัจกร สำ หรับให้ช่วยจัดหาปัจจัยสี่แก่พระภิกษุได้ โดยบอกกับพระภิกษุว่าหากต้องการก็สามารถแจ้งความต้องการต่อนายคนนี้ๆ ได้ เป็นต้น แต่การที่พระจะบอกความต้องการ พระก็ต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งนั้นๆ เหมาะสมแก่สมณะบริโภคไหม การฝากและการบอกความต้องการเช่นนี้ถูกต้องตามพระวินัย

• การไม่ต้องยุ่งเรื่องเงินมีข้อดีมากมาย ถ้าเคยรักษาศีลข้อนี้จะเข้าใจ และจะเป็นอิสระอีกเยอะ

• ถ้าพระมีเงินแล้วก็ไม่รู้จะช่วยพระทำไม แต่เพราะพระไม่มีเงิน โยมก็เลยต้องช่วยดูแล

• พระมีสิทธิจับเงินเพียง 2 กรณี คือ

1. เมื่อเจอเงินในวัด ให้เก็บแล้วคืนแก่เจ้าของ
2. เมื่อมีพระรับเงินมา แสดงอาบัติสละท่ามกลางสงฆ์ แล้วท่านได้รับมอบหมายให้เป็นคนไปโยนเงินนั้นทิ้ง

วินัยเป็นอายุของพระศาสนา ถ้าโยมรู้ อย่างน้อยจะได้ดูพระเป็น ช่วยแก้ปัญหาปลอมบวชได้ด้วย ศาสนาจะเสื่อมลงถ้าเราไม่รู้วินัย ช่วยพระผิดวิธีก็ทำให้อายุพุทธศาสนาสิ้นลงได้

• พระพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับพุทธบริษัททั้ง 4 หากเราเห็นพระทำผิด ก็ช่วยแนะนำพระได้ แนะนำแบบผู้น้อย เช่น “ขอโอกาสครับ เท่าที่ผมทราบมาเป็นอย่างนี้ๆๆ นะครับ”

• พระควรจะมีอย่างเดียว คือ พระที่รักษาปาติโมกข์ ก็จะเป็นที่พึ่งให้หมู่คณะได้ 

• พระมีศีลนี่เป็นสมบัติ สมบัติอื่นสละหมดแล้ว หาอริยทรัพย์จากศีล สมาธิ ปัญญานี้ก็เป็นเรื่องที่พระน่าจะสนใจ ใส่ใจ เริ่มได้จากปาติโมกข์ทีละข้อๆ

2022 04 18 103417

ว่าด้วยโครงการทรงจำพระปาติโมกข์

• โครงการนี้เกิดขึ้นเพราะเห็นความสำคัญของปาติโมกข์ การที่มีพระบวชสั้นๆ บ้าง ความใส่ใจน้อยบ้าง ก็เลยคิดว่าน่าจะมีโครงการที่ช่วยเน้นย้ำ ความสำ คัญของปาติโมกข์

• อันที่จริงพระก็อยากสวดได้อยู่แล้ว พอริเริ่มจะจัดโครงการ มีสถานที่สัปปายะกว้างขวางมีญาติโยมสนับสนุน มีพระวิทยากรซึ่งได้รับเคล็ดลับมามาก ความร่วมมือก็เกิดขึ้น

• วัตถุประสงค์เพื่อสวดปาติโมกข์ได้ รักษาปาติโมกข์ได้ อธิบายปาติโมกข์ได้ และเมื่อกลับไปวัดต้นสังกัด สามารถเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างได้

• แต่ละวันพระวิทยากรจะให้การบ้านสำ หรับท่อง แยกย้ายกันไปท่อง และมีการส่งการบ้าน ฯลฯ

• พระที่เข้าร่วมโครงการ มีทั้งพระจากสายหนองป่าพงและสายอื่นๆ อยู่ร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยกันยกระดับความสำคัญของการรักษาพระวินัย ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ญาติโยมร่วมรับรู้-รักษา ดำรงพระศาสนาให้ตั้งอยู่นาน

• นอกจากฝึกการทรงจำปาติโมกข์แล้ว ยังมีเรื่องข้อวัตร เช่น การอุปัฏฐากครูบาอาจารย์อุปัฏฐากอาคันตุกะ การอยู่เสนาสนะป่า ฯลฯ เสริมเพิ่มเติมให้เรียนรู้ด้วย เหล่านี้เป็นเรื่องน่ารู้ และมีประโยชน์นำ ไปปรับใช้ในชีวิตได้ด้วย อย่างมีพระฝรั่งที่ได้มาเรียน พอได้รู้ก็นำไปใช้ดูแลพ่อแม่ เป็นต้น โปรแกรมนี้ใช้เวลา 3-3.5 เดือน

• หลังจากทรงจำปาติโมกข์ได้แล้วก็ต้องขึ้นสวดจริง การขึ้นสวดจริงได้นี่ละคือประกาศนียบัตร ซึ่งการสวดจะต้องใช้เวลาราว 45 นาที ฉะนั้นต้องซ้อมให้ดี สวดจริงได้ก็จะหายตื่นเต้น

2022 04 18 103447

วิถีชีวิต

• กิจวัตรที่นี่ก็มีทำ วัตรเช้า ทำ วัตรเย็น บิณฑบาต ฉันมื้อเดียว ฯลฯ มาที่นี่ก็เรียนรู้ความเป็นอยู่ของพระ ฝึกหัดข้อวัตร ฝึกทำบริขาร ดูแลบริขาร การอยู่กับปัจจัยสี่ง่ายๆ ซึ่งเป็นอีกความสุขในชีวิตของสมณเพศ

• ท่องหนังสืออย่างเดียวก็เครียด วันโกนก็จะเป็นวันพัก มาดูแลบริขารของตน ย้อมผ้าทำ ไม้กวาด เย็บผ้า ฯลฯ เป็นความสุขเล็กๆ ที่เย็บผ้าเอง ทำ ไม้กวาดเอง พอมีฝีมือก็ทำ ให้ครูบาอาจารย์ ผลัดกันอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ วิถีอยู่ร่วมกันของสมณเพศเช่นนี้คลาสสิกนะ มีปีติที่ไม่อาศัยกาม เป็นความสุขที่ประณีตกว่า ใช้ชีวิตตามพระพุทธเจ้าสอนไม่เป็นการแย่งกัน ลดความขัดแย้ง ลดการแย่งชิงกาม ที่ทำลายโลก ทำร้ายกันก็เพราะแย่งชิงกามกันนี่แหละ, ฝั่งหนึ่งได้ ฝั่งหนึ่งเสีย คือกาม, ได้ทั้งสองฝั่ง คือธรรม

2022 04 18 103905

พระมหากีรติ ธีรปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าบุญล้อม จ.อุบลราชธานี (เมตตาให้ความรู้ เมื่อ 16 มี.ค. 65)