ธรรมโฆษณ์ศึกษา ๑๐๕ : โยนิโสมนสิการ : รุ่งอรุณแห่งปัญญา
ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม คลิ๊กที่นี่
จากการที่ ผู้เข้าเรียน ได้ผ่านการอบรมหลักสูตร ธรรมโฆษณ์ ธ๑๐๑ “การศึกษาชีวิต จากพุทธดำรัส”, ธ๑๐๒ “ชีวิตสุขเย็น มีได้ทันที เมื่อเข้าถึงใจ”, ธ๑๐๓ “อริยสัจสี่ : ความจริงของชีวิต”, ธ๑๐๔ “ปฏิจจสมุปบาท : ความลึกซึ้งของจิตใจ” ซึ่งผู้ที่จบหลักสูตรดังกล่าวนี้แล้ว ผู้จัดหลักสูตรคาดหวังว่า จะมีความสามารถในการการดูแลจิตใจตนเอง ให้สามารถดับทุกข์ เกิดสุข ได้ตามส่วน แห่งการปฏิบัติ และเมื่อเรียนรู้จิตใจตนเองมากขึ้น ก็สามารถเข้าใจจิตใจผู้อื่น เข้าใจการกระทำต่างๆ ของผู้อื่นได้
สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าวแล้ว เมื่อนำธรรมะตามหลักอริยสัจสี่ไปใช้ในชีวิต ได้รับผลเป็นความสุข และมีความกรุณาอยากให้ผู้อื่นได้รับความสุขเช่นนี้บ้าง เกิดฉันทะประสงค์จะเป็นอาสา เป็นกัลยาณมิตรในกิจกรรม “หมอดูใจ ไขความสุข” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้คนได้เข้าใจความจริงของชีวิตและจิตใจภายใน ลดความทุกข์ พบความสุขได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้คนสนใจ ศึกษาหาความรู้อันลึกซึ้ง ในพระพุทธศาสนาต่อไป
การโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการสำคัญหนึ่งในการดำเนินกิจกรรม”หมอดูใจ ไขความสุข” ดังนั้นผู้ที่จะเป็นอาสา จึงจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในหมวดธรรมข้อนี้ มีความเข้าใจ กระบวนการในการนำไปใช้ เมื่อได้ทดลองนำไปใช้แล้วได้ผลสามารถดับทุกข์เกิดความสุข จากการทดลองปฏิบัติด้วยตัวเองแล้ว จะสามารถใช้เครื่องมือการ์ดเข้าถึงใจ เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจจิตใจของตนได้ต่อไป
การกระทำของอาสาเหล่านี้ ในการเป็นหมอดูใจ ที่มีส่วนทำให้ผุ้อื่นได้มีความเข้าใจอริยสัจสี่ ผ่านการ์ดเข้าถึงใจนั้น นับเป็นผู้มีอุปการะมากต่อบุคคลอื่น พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ดังมีพุทธพจน์ กล่าวไว้ว่า
“ภิกษุ ท.! บุคคลมี อุปการะมากต่อบุคคล สามจำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สามจำพวกเหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท.! บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ. ภิกษุ ท.! บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผุ้มีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.
ภิกษุ ท.! ข้ออื่นอีก, บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้ทุกขสมุทัย, นี้ทุกขนิโรธ, นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้. ภิกษุ ท.! บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผุ้มีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.
ภิกษุ ท.! ข้ออื่นอีก, บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏธรรม เข้าถึงแล้วแลอยุ่. ภิกษุ ท.! บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผุ้มีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.
ภิกษุ ท.! บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้แล ชื่อว่าบุคคลผู้มีอุปการะมากต่อบุคคล.
ภิกษุ ท.! เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นที่มีอุปการะมากต่อบุคคล ยิ่งไปกว่าบุคคล ๓ จำพวกนี้.
นอกจากนี้ บุคคลที่ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยจิตใจที่มีความกรุณา ย่อมเกิดผลเป็นความสุข อย่างแน่นอน โดยเป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก ไม่ต้องแย่งชิงจากผู้ใด
๑. ผู้เข้าอบรม เข้าใจความหมายของโยนิโสมนสิการแต่ละแบบ สามารถจดจำได้ เข้าใจความเชื่อมโยงกับหมวดธรรมข้ออื่นๆ
๒. ผู้เข้าอบรม เข้าใจการนำโยนิโสไปใช้ ในการดับเหตุแห่งทุกข์ เกิดความสุขได้จริง สามารถยกตัวอย่าง โยนิโสมนสิการ ที่ตนนำไปใช้ได้ผล ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๓. ผู้เข้าอบรม ทำการโยนิโสมนสิการอยู่เสมอๆ จนเกิดสัมมาทิฏฐิ ได้อย่างมั่นคง
๔. ผู้เข้าอบรม มีความเป็นกัลยาณมิตร เกิดฉันทะในการช่วยเหลือผู้อื่น ผ่านกระบวนการการ์ดเข้าถึงใจ สามารถถ่ายทอด การใช้โยนิโสมนสิการ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยประยุกต์เข้ากับเรื่องของคนนั้นๆ
๕. เพิ่มกัลยาณมิตร ผู้มีความสามารถในการช่วยเหลือแนะนำผู้อื่น ให้ดับทุกข์พบสุขได้ ให้มีมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก
๕. ผู้เข้าอบรม ได้รับผล จากการโยนิโสมนสิการ ตามที่พระพุทธองค์กล่าวไว้
“เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือให้สัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญขึ้น”
พระไตรปิฏก เล่มที่๒๐ ข้อที่ ๑๘๖ (จากหนังสือพุทธธรรม หน้า๖๖๙ พระพรหมณ์คุณาภรณ์ ป. อ. ปยุตฺโต)
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะโยนิโสมนสิการ เพราะโยนิโสสัมมัปปธาน(การตั้งความเพียรของ ถูกวิธี) เราจึงได้บรรละอนุตรวิมุตติ จึงได้ประจักษ์แจ้งอนุตรวิมุตติ , แม้เธอทั้งหลายก็จะบรรลุอนุตรวิมุตติได้ ประจักษ์แจ้ง อนุตรวิมุตติได้ เพราะโยนิโสมนสิการ เพราะโยนิโสสัมมัปปธาน”
พระไตรปิฏก เล่มที่๑๕ ข้อที่ ๔๒๕ (จากหนังสือพุทธธรรม หน้า ๖๖๘ พระพรหมณ์คุณาภรณ์ ป. อ. ปยุตฺโต)
“ธรรม๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบระงับ(ปัสสัทธิ) เมื่อกายสงบระงับ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง เมื่อนิพพิทาก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ”
พระไตรปิฏก เล่มที่๑๑ ข้อที่ ๔๕๕ (จากหนังสือพุทธธรรม หน้า๖๖๙ พระพรหมณ์คุณาภรณ์ ป. อ. ปยุตฺโต)
๑. บุคคลที่มีเป้าหมาย การใช้ชีวิต ที่สุขเย็น
๒. บุคคลที่สนใจ ศึกษาพุทธดำรัส โดยการปฏิบัติภาวนา เพื่อเข้าถึงภาวนามยปัญญา ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ได้รับผลจากพระธรรม ประจักษ์แจ้งได้ด้วยตัวเอง
๓. บุคคลที่สนใจ จะศึกษาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ เรื่องจิตใจ เพื่อเป็น “หมอดูใจ” ในกิจกรรม “หมอดูใจ ไขความสุข”เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ให้เข้าใจจิตใจมากขึ้น อันนำไปสู่การสนใจศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครเข้าร่วมอบรม
๑. บุคคลที่ผ่าน หลักสูตร ธ.๑๐๑ “ศึกษาชีวิต จากพุทธดำรัส”
๒. บุคคลที่ผ่าน หลักสูตร ธ.๑๐๒ “ชีวิตสุขเย็นมีได้ทันที เมื่อเข้าถึงใจ”
๓. บุคคลที่ผ่าน หลักสูตร ธ.๑๐๓ “อริยสัจสี่ : ความจริงของชีวิต”
๔. บุคคลที่ผ่าน หลักสูตร ธ.๑๐๔ “ปฏิจจสมุปบาท : ความลึกซึ้งของจิตใจ”
เงื่อนไขสำหรับการผ่านการอบรม มีคุณสมบัติ เป็นอาสาหมอดูใจ
๑. สามารถอธิบาย กิจกรรม “หมอดูใจ ไขความสุข” ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายได้
๒. สามารถอธิบาย กลไกของจิต ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาทได้
๓. สามารถยกตัวอย่าง โยนิโสมนสิการทั้ง๑๐ แบบ ที่ได้นำไปใช้ในการดับทุกข์ ในชีวิตประจำวันได้
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๑๐ คน
ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.bia.or.th/html_th/events/2012-03-12-09-31-10/item/618-1456.html
กลุ่มอยู่เย็นเป็นประโยชน์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ คุณวุฒิ ๐๘ ๑๘๓๕ ๔๕๙๕ (กรุณาโทรเฉพาะช่วงกลางวัน)