ฟ้าสางทางการไหว้พระสวดมนต์

ฟ้าสางทางการไหว้พระสวดมนต์

โดย เครือข่ายการเรียนรู้สู่ธรรมวาที

11794143 411159102413534 4681297112837725340 o

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม คลิ๊กที่นี่

ความเป็นมา

จากบทนำของคู่มืออุบาสก อุบาสิกา ทำวัตรเช้า-เย็น บทสวดมนต์พิเศษและศาสนพิธี แปลไทย ฉบับพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ โดยหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสวดมนต์ไหว้พระ และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับพุทธบริษัท

แต่ในสถานปฏิบัติธรรมหรือวัดบางแห่ง ละเลยการไหว้พระสวดมนต์ หรือบางแห่งสวดมนต์แต่ ไม่นำธรรมะที่สวดกันมาอธิบาย ให้ความแจ่มแจ้งชัดเจนในการปฏิบัติ หรืออธิบาย เป็นเพียงความคิดความเข้าใจส่วนบุคคลไม่อ้างอิงตำราทางศาสนาอันมีเหล่าครูบาอาจารย์ได้เรียบเรียงไว้ดีแล้ว กระทั่งสร้างความเข้าใจว่าการสวดมนต์เป็นเพียงพิธีกรรม สร้างความเข้าใจให้เป็นตำนานหรือหลักการทางปรัชญาห่างไกลตัวเกินไป

ดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ผู้ไหว้พระสวดมนต์จำนวนมาก ไม่สามารถเข้าใจถึงคุณค่าทางธรรมของบทสวดต่างๆ หรือ อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือตั้งเจตนาที่ผิดในการสวดมนต์ การไหว้พระสวดมนต์จึงควรประกอบด้วยศรัทธาและปัญญาไปควบคู่กัน เพื่อดำรงไว้ซึ่งในพระสัทธรรม ทั้ง ๓ กล่าวคือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อันจะทำให้คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อตัวผู้สวด และเกิดประโยชน์ในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์

๑.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดศรัทธาในการสวดมนต์ไหว้พระ มีจิตใจที่เข้าถึงพระพุทธเจ้า

๒.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ฝึกสมาธิจากการกำหนดจิตในเสียง พยัญชนะและสระในบทสวด

๓.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาธรรมะ โดยความหมายของธรรมะ จากภาษาบาลีและไทย หรือเรื่องราวจากพระสูตร อรรถกถา และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

๔.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ สอบสวนและตักเตือนตนเองโดยทางธรรม

๕.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ท่องจำรักษาซึ่งบทสวดมนต์และพระสูตร ทั้งภาษาบาลีและไทย

๖.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกสติสัมปชัญญะ ค้นคว้า ทบทวนธรรมะรวมกันอย่างเป็นระบบ

กิจกรรมประกอบด้วย

การทำวัตรสวดมนต์ที่ประกอบด้วยธรรมอย่างสมบูรณ์พร้อม โดยการเจริญ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา :

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

13047956 903371709780828 6301214557239830221 o

วิทยากรและผู้ดำเนินกิจกรรม

พระภิกษุในเครือข่ายการเรียนรู้สู่ธรรมวาที

วันเวลาและสถานที่

ครั้งที่ ๑ : วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
             อานาปานสติ คือ ภูมิแห่งมนสิการ ของมหาบุรุษ
             ทวัตติงสาการปาฐะ : บทพิจารณา อาการ ๓๒
 
ครั้งที่ ๒ : วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
             อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่มีผลใหญ่ มีอานิสงค์ใหญ่
             ภัทเทกรัตตคาถา : คาถาสำหรับผู้มีราตรีเดียว
 
ครั้งที่ ๓ : วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
             อานาปานสติ คือ ธรรมแห่งความไม่ประมาท
             ติลักขณาทิคาถา : คาถาพิจารณาไตรลักษณ์

ำหนดการ

๙.๐๐ – ๙.๓๐ น.          ไหว้พระ สวดมนต์ทำวัตร-สาธยายพระสูตร (หรือทบทวนบทเก่า)
๙.๓๐ - ๑๐.๐๐ น.         เรียนรู้บทสวด โดยการฟังอธิบาย และ/หรือร่วมเสวนา-อภิปราย-สาธิต
๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น.       พัก / ทำสมาธิ
๑๐.๑๕ - ๑๑.๐๐ น.       สวดมนต์ทำวัตร–สาธยายพระสูตร รอบทบทวน
๑๑.๐๐ - ๑๑.๓๐ น.       ช่วงถาม-ตอบ และให้บทสวดที่ควรท่องจำ
๑๑.๓๐ น.                  จบการเรียนรู้

 


กิจกรรมรุ่นที่ผ่านไปแล้ว 

 

แผนการสอนและการเรียนรู้ ครั้งที่ ๖ (Modules)

ครั้งที่ ๑    วันเสาร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๙

               มงคลที่ ๑ - ๑๐ : มงคลแห่งชีวิต สำหรับวัยเรียน

ครั้งที่ ๒    วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙

               มงคลที่ ๑๑ - ๓๐ : มงคลแห่งชีวิต สำหรับวัยทำงาน

ครั้งที่ ๓    วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๙

              มงคลที่ ๓๑ - ๓๘ : มงคลแห่งชีวิต สำหรับวัยเกษียณ


แผนการสอนและการเรียนรู้ ครั้งที่ ๕ (Modules)

ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙

           ปฐมพุทธภาสิต และพุทธอุทาน : พระภาษิตของพุทธองค์ ในวันบรรลุธรรม 

ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙

            อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท : ข้อธรรมอันพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง

ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙

            ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : พระสูตรแรกแห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สมบูรณ์

 

 
แผนการสอนและการเรียนรู้ ครั้งที่ ๔ (Modules)

ครั้งที่ ๑  วันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙

             เขมาเขมสรณทีปิกคาถา : พระคาถาแสดงที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษม

ครั้งที่ ๒   วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙

              อริยธนคาถา : พระคาถาว่าด้วยทรัพย์อันประเสริฐ

ครั้งที่ ๓  วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

             โอวาทปาฏิโมกขคาถา : พระคาถาว่าด้วยหลักการและข้อปฏิบัติในพุทธศาสนา


 
แผนการสอนและการเรียนรู้ ครั้งที่ ๓ (Modules)
ครั้งที่ ๑   วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘
               อานาปานสติ ครั้งที่ ๑
               ภูมิแห่งมนสิการ ของมหาบุรุษ
ครั้งที่ ๒   วันเสาร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๘
               อานาปานสติ ครั้งที่ ๒
               กรรมฐานที่มีผลใหญ่ มีอานิสงค์ใหญ่
ครั้งที่ ๓   วันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๘
                อานาปานสติ ครั้งที่ ๓
                ธรรมแห่งความไม่ประมาท
  

แผนการสอนและการเรียนรู้ ครั้งที่ ๒ (Modules)

ครั้งที่ ๑    วันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๘

             วันพระพุทธเจ้า "วิสาขบูชา" : วันที่มีผู้ค้นพบและสอนธรรมะ บทอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ - ปฐมพุทธภาสิตคาถา

ครั้งที่ ๒   วันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๘

             วันพระธรรม "อาสาฬหบูชา" : วันที่ผู้รู้บอกสิ่งที่ได้รู้ ให้คนอื่นรู้ บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ครั้งที่ ๓  วันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘

             วันพระธรรม (ต่อ) "เข้าพรรษา" : วันที่มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์บทอนัตตลักขณสูตร

ครั้งที่ ๔  วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘

             วันพระสงฆ์ "มาฆบูชา" : วันแสดงจำนวนผู้ที่ได้รู้ได้รับประโยชน์ บทอาทิตตปริยายสูตร-โอวาทปาติโมกขคาถา


แผนการสอนและการเรียนรู้ ครั้งที่ ๑ (Modules)

ครั้งชิมลอง : วันเสาร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ครั้งที่ ๑  วันเสาร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๘

             ปฐมนิเทศ และอธิบายบทสวดพื้นฐาน ปุพพภาค (นะโม) , ไตรสรณคมณ์ (พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ)

ครั้งที่ ๒   วันเสาร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘  

             บทสวดระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย “พระพุทธคุณ” เพื่อปฏิบัติพุทธานุสติ

ครั้งที่ ๓   วันเสาร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘  

            บทสวดระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย “ พระธรรมคุณ” เพื่อปฏิบัติธัมมานุสติ

ครั้งที่ ๔   วันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘

            บทสวดระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย “พระสังฆคุณ” เพื่อปฏิบัติสังฆานุสติ

ครั้งที่ ๕  วันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๘

             บทสวดเพื่อแสดงถึงความสังเวช (สังเวคปริกิตตนปาฐะ) อาการ ๓๒ (ทวัตติงสาการปาฐะ)

             และบทพิจารณาสังขาร เพื่อน้อมนำจิตใจของผู้เข้าร่วม ให้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์

ครั้งที่ ๖  วันเสาร์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๘

             บทกรวดน้ำ (สัพพปัตติทานคาถา และ อุททิสสนาธิฏฐานคาถา) และบทเจริญเมตตา

            อันเป็นเครื่องมือในการพิจารณาเพื่อลดละอัตตา-ตัวตน และนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม

** อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ตามความสนใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

 

Tags กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ปริยัติสัทธธรรม)